ชีวประวัติและปรัชญา ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นบุตรของทนายความซึ่งมีชื่อว่า อดอล์ฟ และมารดาชื่อ แคโรรีน ดรักเกอร์เกิดที่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 ดรักเกอร์ย้ายไปหางานทำที่ฮัมบวร์คแล้วเริ่มฝึกทำงานที่บริษัทค้าฝ้าย แล้วเป็นนักเขียนข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Der Österreichische Volkswirt (ออสเตรีย อิโคโนมิสต์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ผลงานของเขาสร้างความประทับใจต่อโจเซฟซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขาเอง เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของผู้ประกอบการ[5] ดรักเกอร์ยังมีอิทธิพลต่อแนวคิดที่มีความแตกต่างไปจาก จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งได้บรรยายที่เคมบริดจ์ เมื่อ ค.ศ. 1934 ว่า "ผมเพิ่งเข้าใจว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ล้วนปราดเปรื่องในห้องเรียนซึ่งสนใจเกี่ยวกับความนิยมด้านสินค้า" ในขณะที่ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ว่า "ผมสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน"[6]

ถัดจากนั้นอีก 70 ปี งานเขียนของดรักเกอร์ได้กลายเป็นเครื่องหมายโดยมุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่มีอยู่ทั่วไป หนังสือของเขาได้สอดแทรกบทเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องของการทำอย่างไรองค์กรถึงจะสามารถสร้างคนที่ดีที่สุดขึ้นมาได้ และคนงานจะสามารถตระหนักถึงสภาพชุมชนได้อย่างไร รวมทั้งจะเป็นที่ยอมรับในการจัดตั้งสังคมสมัยใหม่โดยรอบได้อย่างไร[7]

ขณะที่เขายังหนุ่ม ก็ได้เขียนผลงานขึ้นมาสองชิ้น — โดยเล่มหนึ่งกล่าวถึงนักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า เฟดเดอริช จูเลียส สตาห์ล กับเรื่อง "คำถามของชาวยิวในเยอรมัน" (The Jewish Question in Germany) — ซึ่งได้ถูกสั่งเผาและระงับการจัดพิมพ์โดยฝ่ายนาซี[3] ปี ค.ศ. 1993 ได้เดินทางออกจากเยอรมันไปยังอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เขาได้ทำงานในบริษัทประกัน หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในธนาคารอย่างเป็นการส่วนตัว เขายังได้ติดต่อกับ ดอริส ชมิตซ์ ผู้ซึ่งเป็นคนรู้จักจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ตอีกครั้ง ทั้งคู่ได้แต่งงานกันใน ค.ศ. 1934 (ทั้งนี้ รายชื่อในใบรับรองระบุชื่อของเขาว่า ปีเตอร์ จอร์จ ดรักเกอร์ [8]) และสองสามีภรรยาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยเขาได้มาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ (ดรักเกอร์ไม่ยอมรับกับคำว่า "กูรู" ซึ่งคนทั่วไปยอมรับในตัวเขา โดยเขายังกล่าวย้ำอีกด้วยว่า "ผมพูดมาหลายปีแล้ว เราจะใช้คำว่า "กูรู" ก็คงเสมือนกับว่าเราเป็น "นักต้มตุ๋น" จนอาจต้องถูกพาดหัวข่าวที่ยาวมาก") [9]

ในปี ค.ศ. 1943 ดรักเกอร์โอนสัญชาติเป็นพลเมืองของอเมริกา เป็นผู้สอนที่วิทยาลัยเบนนิงตัน ช่วงปี ค.ศ. 1942 ถึง 1949 หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง 1971 ดรักเกอร์เดินทางสู่แคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรเอ็มบีเอด้านการบริหาร สำหรับฝึกอาชีพที่ มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท (หลังจากนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนแคลมอนต์ เกรดูเอท) ช่วงปี ค.ศ. 1971 จนถึงช่วงที่เขาเสียชีวิต เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษด้านสังคมศาสตร์ กับ การจัดการ ที่มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท และได้ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยขึ้นมาว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์" (หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อในที่รู้จักกันว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ แอนด์ มาซาโตชิ อิโต้ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์") เพื่อเป็นการให้เกียรติ เมื่อปี ค.ศ. 1987 เขาสอนในชั้นเรียนครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2002 ในขณะที่มีอายุได้ 92 ปี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปีเตอร์ ดรักเกอร์ http://www.druckersociety.at/ http://www.peterdrucker.at/ http://www.peterdrucker.at/en/more/more_links.html http://businessweek.com/magazine/content/05_48/b39... http://www.businessweek.com/magazine/content/05_48... http://www.communicoltd.com/pages/400_your_workpla... http://www.definitivedrucker.com/ http://www.druckerinstitute.com/ http://www.druckerinstitute.com/about-peter-drucke... http://www.druckerinstitute.com/additional-pieces....